LoRaWAN คืออะไร?





แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ IoT กันก่อนดีกว่า IoT หรือ Internet of Things คือ การที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีสายใยเชื่อมโยงกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมและทั่วถึง หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า M2M (Machine to Machine) คือเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน และแน่นอนว่า IoT จึงเป็นที่นิยมใช้งานกันหลากหลายในภาคอุตสาหกรรม เลยทำให้มีเทคโนโลยีที่ออกมารองรับการสื่อสารนี้ ที่เน้นรับส่งข้อมูลจำนวนไม่มากนัก นั่นก็คือ LoRaWAN
LoRaWAN ย่อมาจาก Low Power Wide Area Network (LPWAN) เป็นมาตรฐานโลกที่ปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ IoT สื่อสารกันผ่าน IoT LPWAN connectivity และ LoRaWAN ยังถูกออกแบบมาสำหรับการสื่อสารไร้สายแบบวงกว้างที่ใช้พลังงานน้อย นอกจากนั้นยังสื่อสารระยะไกลระหว่าง node กับ gateway ในระยะทาง 2 - 15 กิโลเมตร โดย LoRaWAN มีอัตราการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ 0.3 kbps ถึง 50 kbps 


ตัวอย่างงานใช้ LoRaWAN 
Smart parking by Libelium

Libelium ได้นำเสนอเวอร์ชั่นใหม่ของ Wasp mote Plug & Sense! ที่จอดรถสมาร์ทซึ่งเป็นทางออกสำหรับ Smart Cities ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถตรวจจับจุดจอดรถที่มีอยู่ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ราคาถูก และติดตั้งบนผิวถนแตกต่างจากตามท้องตลาดไม่จำเป็นต้องขุดหลุมในพื้นดิน สามารถลดเวลาในการติดตั้งลง 30 วินาที ถึง 5 นาที อุปกรณ์ใหม่นี้มีขนาดเล็กลงกว่า 50% มีความแม่นยำและเชื่อถือได้สูงขึ้น และใช้เวลาในการตรวจจับได้เร็วขึ้น อุณหภูมิจะไม่ส่งผลต่อการอ่าน




Agriculture and Food Processing

        ปัจจุบันเกษตรกรสามารถระบุตัวสัตว์ที่ป่วยได้โดยการสังเกตเท่านั้น แต่เนื่องจากสัตว์มักไม่แสดงอาการป่วยจนกว่าพวกมันจะป่วยเป็นอย่างหนัก การติดตามสัตว์จะประกอบด้วยเครื่องมือติดตามสุขภาพที่เชื่อมต่อกับสัตว์และให้การตรวจสอบอุณหภูมิ การเคลื่อนไหว และสัญญาณอื่น ๆ ที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง การติดตามสัตว์ที่ประกอบด้วยเซ็นเซอร์และเกตเวย์ที่ฝังอยู่กับเทคโนโลยีLoRa® จะช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมสุขภาพของสัตว์เลี้ยงในฟาร์มได้ดีขึ้น

ความคิดเห็น